วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

สอบเก็บคะแนน



สอบเก็บคะแนน

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่เป็นการสอบเก็บคะแนน^^)v”



การประเมิน
ตนเอง - ไม่ได้เตรียมตัวอ่านหนังสือมาเลย แถมไม่ได้นำชีสที่เรียนไปด้วย สอบด้วยความรู้ที่มีล้วนๆ ซึ่งก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง พอทำไม่ได้ก็ชอบโวยวาย เสียงดัง แต่ก็ตั้งใจสอบจนจบ วันนี้เข้าสอบเกือบสาย เข้าไปสอบในขณะที่ครูแจกข้อสอบแล้ว

เพื่อน - ตั้งใจสอบกันมาก อยู่ในความสงบ เตรียมตัวอ่านชีสสอบมาอย่างดี เข้าสอบตรงเวลา

อาจารย์ -วันนี้อาจารย์ใจดีมาก ให้ดูชีสที่เราเรียนแต่ แต่อาจารย์ออกข้อสอบเป็นความรู้ไม่ใช่ความจำ ในชีสก็ไม่ช่วยสักเท่าไหร่ พอสอบเสร็จอาจารย์ก็มีเรื่องแจ้ง เรื่องคุยแล้วก็ปล่อย







วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  7
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  17  เดือนมีนาคม2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.

สรุปเนื้อหา

                การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่ –ทานข้าว
                   -เก็บจาน
-การไปเข้าห้องน้ำเอง
-การแต่งตัวโดยที่เด็กเป็นคนทำเอง
-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
-เด็กทำเอง เด็กจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ครูต้องใจแข็ง อย่าไปทำให้เด็กทุกเรื่อง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-“ หนูทำช้า”“ หนูยังทำไม่ได้ (เด็กพิเศษขอให้ช่วยแค่ไหนเราก็ช่วยแค่นั้น)
จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4ปี)



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5ปี)



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6ปี)



ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด


สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


หัวใจของพวกเรา



กิจกรรมนี้อาจารย์จะแจกกระดาษให้พวกเราแบ่งกัน แล้วก็สมมุตให้จุดตรงกลางกระดาษที่เราจุดขึ้น(ใหญ่เล็กตามใจชอบ)เป็นจุดเริ่มต้นของหัวใจของเรา จากนั้นก็ใช้สีเทียนวาดวงกลมให้ใหญ่ขึ้นไป โดยที่เราจะเปลี่ยนสีกี่สีก็ได้ ใหญ่แค่ไหนก็ได้ จากนั้นก็ตัดเฉพาะที่เป็นวงกลมไปแปะบนต้นไม้พร้อมกับเพื่อนๆ
ประโยชน์
-ได้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
-ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
-สมาธิ
-การคิดวางแผน





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เรารู้ลักษณะการสอนเรื่องทักษะการช่วยเหลือของเด็กพิเศษมากขึ้น
-ทำให้เรารู้ว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กทำเอง อย่าทำให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้เรารู้ขั้นตอนของการย่อยงานมากขึ้น
-ควรให้โอกาสเด็กเรียนรู้ทุกๆอย่าง เท่าเทียมกัน
-ทำให้เรามีกิจกรรมสนุกๆทุกสัปดาห์ นำไปสอนเด็กๆได้


การประเมิน
ตนเอง – การเรียนวันนี้บรรยากาศกลับมาเป็นปกติ ทั้งอาจารย์และนักศึกษามีเรื่องพูดคุยปรึกษากันเหมือนเดิม วันนี้ก็ตั้งใจเรียนมากขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วมาก มาเรียนตรงเวลาแต่งกาบเรียบร้อย
เพื่อน –เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน กล้าพูดกล้าคุยกับอาจารย์กลับมาเป็นปกติแล้ว มาเรียนตรงต่อเวลาแต่งกายเรียบร้อย
อาจารย์ มาสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาการเรียนได้อย่างตรงประเด็น ยกตัวอย่างที่ทำให้เราเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น มีกิจกรรมให้เด็กทำทุกสัปดาห์








วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  10  เดือนมีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.

สรุปเนื้อหา

                การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา



พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
-การเข้าไปถามเด็กว่าทำอะไรอยู่ ถ้าเด็กไม่ตอบเราก็ถามย้ำๆแล้วก็สามารถสอน และช่วยเด็กได้





กิจกรรมดนตรีบำบัด



กิจกรรมดนตรีบำบัดนี้ก็จะทำให้เด็กพัฒนาการทั้ง4ด้าน
-ด้านร่างกาย เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก การควบคุมนิ้มมือในการจับสี การลากเส้น
-ด้านอารมณ์ เด็กมีอารมณ์ดี เพลิดเพลินในการฟังเพลงและลากเส้น ลงสี มีสมาธิ
-ด้านสังคม เด็กได้คุยกับเพื่อน ภาษา พูดคุยกันแลกเปลี่ยนความเห็น
-ด้านสติปัญญา ได้การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์

ผลิบานผ่านมือครู อนุบาลบ้านพลอยภูมิ



จังหวะกาย จังหวะชีวิต” การใช้ดนตรีและจังหวะอย่างมีเป้าหมายจะช่วยพัฒนาเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี ได้ทั้งร่างกายการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การพูดคุยระหว่างเพื่อน ได้ภาษา กิจกรรมเด็กพิเศษกับเด็กปกติไม่ต่างกัน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เรารู้ลักษณะการสอนเรื่องทักษะทางภาษาของเด็กพิเศษมากขึ้น
-ทำให้เรารู้การใช้คำถามปลายเปิด การถามเด็กขณะทำงาน
-ทำให้เรารู้พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกทางภาษา
-ควรให้โอกาสเด็กเรียนรู้ทุกๆอย่าง เท่าเทียมกัน
-ทำให้เราสังเกตเด็กอย่างมีระบบ


การประเมิน
ตนเอง – การเรียนวันนี้เป็นอะไรที่ยาวนานมาก รู้สึกไม่มีอารมณ์ร่วมในชั้นเรียนเลย พูดคุยตลอดเวลา แต่ก็ยังตอบคำถามบ้าง ไม่ค่อยสนใจสิ่งที่อาจารย์กำลังสอนอยู่หน้าห้องเลย วันนี้รู้สึกไม่มีกำลังใจในการเรียนเลย มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน –วันนี้มีเพื่อนๆเรียนสองกลุ่ม รู้สึกว่าห้องแคบไปถนัดตา การเรียนร่วมกันก็ทำให้ได้รู้ความคิดเห็นของอีกกลุ่ม แต่ก็เสียงดังมาก ควบคุมไม่ได้เลย แล้วก็มาเรียนไม่ตรงเวลาเลย ถ้าเลือกได้ขอเรียนกลุ่มเดียว
อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมก่อนเรียนมาให้ทำเสมอ อาจารย์พยายามอย่างเต็มที่ในการควบคุมเด็ก พอเด็กมันเยอะก็ดูแลไม่ค่อยทั่วถึง ในขณะที่ฝั่งนึงตอบอาจารย์ก็มองไมเห็นอีกฝั่งที่กำลังยกมือตอบเช่นกันแต่อาจารย์ก็พยายามเดินไปดูเด็กทั่วๆห้อง







วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  5
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  03  เดือนมีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.

สรุปเนื้อหา
 กิจกรรมก่อนเรียนในวันนี้อาจารย์มีเกมจิตวิทยาอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นมาให้ทดสอบ ซึ่งก็ทำให้เพื่อนๆในห้องหัวเราะกันได้อย่างสนุกสนาน
               
                การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ แต่ขึ้นอยู่กับตัวเด็กสิ่งแวดล้อมไม่มีผลต้องปรับตัวที่เด็ก
-เน้นการช่วยเหลือตัวเอง
-เน้นภาษา
กิจกรรมการเล่น
-ต้องมีสื่อการเล่น
-เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่อะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
-เวลามีเด็กมาขวางทางขณะที่เขากำลังเดิน เขาจะผลักหรือกระแทกให้ล้ม ครูไม่ควรตำหนิเด็ก
ยุทธศาสตร์การสอน
-เริ่มต้นจากการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ บันทึก
-เลียนแบบการเล่นของเพื่อน เพราะไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่น
-แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม2-4คน มีเด็กพิเศษ1คน เด็กปกติ3คน
-คำนึงถึงเด็กทุกคน
-เด็กปกติต้องคอยช่วยสอนให้เด็กพิเศษ
ครูควรปฏิบัติอย่างไร
-อยู่ใกล้ๆ เฝ้ามองอย่างสนใจ ต้องให้เด็กรู้สึกว่าครูมองอยู่ตลอดเวลา
-ยิ้มพยักหน้าเมื่อเด็กหันถาม และไม่ชมเด็กมาเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดที่เป็นแรงเสริม ชมให้ตรงจุดประสงค์
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-ครูต้องพูดชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อน ครูต้องพูดเก่งๆ
-การบอกบทให้เด็กทำตามครู
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
-ให้งานง่ายๆ ให้โอกาส
-ห้ามเอาข้อต่อรองของเด็กพิเศษ มาต่อรองกับเด็กปกติ ต้องเท่าเทียม
-เด็กพิเศษไม่ได้มีอภิสิทธิ์มากกว่าเด็กปกติ


                กิจกรรมหลังจากเรียนในเนื้อหาเสร็จก็เป็น กิจกรรมดนตรีบำบัด
โดยอาจารย์มีกระดาษให้ แบ่งกลุ่มกลุ่มละ2คน แล้วเลือกสีที่ชอบคนละสี คนนึงเป็นคนลากเส้นตามจังหวะของเพลงโดยไม่ยกเส้น คนเป็นคนจุดตามเส้นที่เห็นว่าเป็นวงกลม


พอวาดเสร็จแล้วก็ให้วาดรูปอะไรก็ได้ที่เราเห็นเป็นรูปลงในเส้นที่เราลาก กลุ่มเราวากปลา หมา หนอน นกฮูก ไดโนเสาร์ กิ้งก่า


โชว์ผลงานแล้วก็อธิบายผลงานของตัวเอง





กิจกรรมร้องเพลง
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล.รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.ตฤณแจ่มถิน

เพลงดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรองผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลงดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สดใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลงดอกมะลิ
ดอกมะลิกลีบขาวพราวตา                                    
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ยาก็ได้
ลอยในน้ำอบขนมหอมชื่นใจ

เพลงกุหลาบ
กุหลาบงามก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลงนกเขาขัน
ฟันสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู

เพลงรำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กินห้อมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เรารู้ลักษณะการสอนเรื่องทักษะทางสังคมให้กับเด็กพิเศษ
-ทำให้เรารู้ว่าคนเป็นครู ควร ไม่ควรทำอะไรบ้าง
-ทำให้เรามีทัศนคติดีๆเวลามองเด็ก
-ควรให้โอกาสเด็กเรียนรู้ทุกๆอย่าง เท่าเทียมกัน
-ทำให้เราทราบถึงเทคนิคต่างๆในการรับมือกับเด็กพิเศษ

การประเมิน
ตนเอง – สนุกสนานกับกิจกรรมทุกกิจกรรม หัวเราะ มีส่วนร่วมในกิจกรรม ตังใจเรียน จดบันทึกตามสิ่งที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา

เพื่อน –สนุกสนาน มีส่วนร่วมกับกิจกรรม ตังใจเรียน มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมก่อนเรียนมาให้ทำ ทำให้เราผ่อนคลายก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา มีกิจกรรมท้ายคาบ มีคำถามให้เด็กได้ตอบทบทวนความรู้เสมอ