วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  10  เดือนกุมภาพันธ์  2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.

สรุปเนื้อหา


กิจกรรมวาดรูปมือที่ตัวเองไม่ถนัดให้เหมือนที่สุด โดยไม่เห็นมือนั้น



การวาดรูปมือที่เราไม่ถนัดโดยที่เราไม่เห็นนั้นเปรียบเสมือนการที่เด็กอยู่กับเราตลอดเวลา เราดูเขา แต่เราไม่บันทึกพฤติกรรมเดี๋ยวนั้นเราจะจำได้ไหม? เราจะเก็บรายละเอียดได้ทั้งหมดไหม?
เราเห็นเด็กทำพฤติกรรมอะไรเราต้องบันทึกเลย บันทึกตอนที่เห็นจะสามารถเก็บรายละเอียดได้มากกว่า ขนาดมือที่เราไม่ถนัดอยู่กับเรามา20ปี เรายังจำไม่เลย เด็กอยู่กับเราแค่บางเวลาหรือตลอดคาบเรายังจำไม่ได้เลย ดังนั้นต้องบันทึกเลย ห้าม!จำแล้วไปบันทึกทีหลัง  เพราะการบันทึกเลยข้อมูลมันจะตรงกับความเป็นจริงมาก สามารถใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติธรรมดา

การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
-ต้องมองเด็กให้เท่าเทียมกัน
-มองให้เห็นเป็นภาพรวม ไม่ใช่มองเจาะที่เด็กพิเศษ
-ครูต้องแสวงหาความรู้ เข้ารับการอบรมต่างๆ
-มองเด็กให้เป็นเด็ก
-ครูต้องรู้จักเด็กแต่ละคนให้ดี จำชื่อทุกคนได้ ชื่อเล่น ชื่อจริง นามสกุล
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-ไม่ควรปรึกษาครูข้างห้อง เพราะครูคนนั้นจะมองเด็กไม่ดี
-ครูต้องรู้จักพูด การใช้ภาษากับผู้ปกครอง
-ต้องชมก่อนแล้วค่อยติในสิ่งที่ไม่ดี


ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ  เด็กแต่ละคนไม่ต่างกัน
-แรงจูงใจ  แต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องมีแรงโน้มของแต่ละคน
-โอกาส  เด็กแต่ละคนมีการเรียนแตกต่างกันเด็กปกติจะมีมากกว่า
การสอนโดยบังเอิญ
-สอนเมื่อเด็กถาม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
-ครูต้องพร้อมเสมอ แม้เด็กจะมาถามเรื่องเดิมๆ
-ต้องสอนหลายๆครั้ง / วัน / สัปดาห์
-ครูต้อแบ่งเวลาให้ดี
ตารางประจำวัน
-เด็กพิเศษไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงตารางประจำตัวของเขา
-ห้องเรียนที่เด็กคาดเดาได้ว่าคืออะไร เรียนอะไร เด็กจะรู้สึกปลอดภัย อุ่นใจ
*ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน*
เทคนิคการให้แรงเสริม
-แรงเสริมจากผู้ใหญ่เป็นตัวกระตุ้นที่ดีให้ออกมาเยอะขึ้น
-ชม กอด อยู่ใกล้ๆ ยิ้ม สัมผัสทางกาย ให้ความช่วยเหลือในบางกิจกรรม     
-ต้องให้เด็กทำงานให้เสร็จก่อน ค่อยถาม
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-พอเด็กทำดี เราต้องให้แรงเสริมเดี๋ยวนั้นเลย
-ให้คำชมเฉพาะเด็กที่แสดงพฤติกรรม
การแนะนำหรือบอกบท(Prompting)
-ย่อยงาน
-แรกๆต้องบอกทุกขึ้นตอน หลังลดลง
การกำหนดเวลา
-จำนวนและความถี่ของแรงเสริมต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
-สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
เด็กตักซุป
-การจับช้อน
-การตัก
-ระวังไม่ให้น้ำหกก่อนจะเข้าปาก
-เอาช้อนซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
-เอาซุปออกจากช้อนเข้าปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-งดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นไม่สนใจเด็ก
-เอาของเล่นออกจากเด็ก
ความคงเส้นคงวา


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เรารู้ลักษณะการให้แรงเสริมของเด็ก
-ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและสนุกสนาน
-ทำให้เรามีทัศนคติดีๆเวลามองเด็ก
-ควรให้โอกาสเด็กเรียนรู้ทุกๆอย่าง เท่าเทียมกัน

การประเมิน
ตนเอง – ตั้งใจเรียน วาดรูป จดบันทึกตามที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเดิม ตอบคำถาม แซวอาจารย์ในบางเวลา วันนี้แซวเยอะเกินจนอาจารย์ต้องหมายหัวไว้เลย  มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ทำงานเสร็จเร็ว

เพื่อน –จดบันทึกทุกครั้งที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม ตั้งใจฟัง เงียบ  แต่งกายเรียบร้อยมาเรียนตรงเวลา

อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมก่อนเรียนมาให้ทำตลอด ทำให้เข้าใจก่อนที่เราจะได้เริ่มเรียน ได้รู้ว่าอาจารย์จะสอนอะไรต่อไป ร้องเพลงเก่ง จำเพลงได้เยอะมาก ยิ้ม อารมณ์ดีตลอดการสอน












วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  27  เดือนมกราคม  2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.



สรุปเนื้อหา
เข้ามาในห้องเรียนอาจารย์ก็ให้ดูรูปดอกทานตะวัน แล้วบอกว่า วาดให้เหมือนที่สุด  พอวาดเสร็จก็ให้บรรยาย เห็นอะไรเขียนอย่างนั้น


ภาพตัวอย่าง






เห็นต้นทานตะวันที่ชัดเจน1ต้น เพราะว่าพื้นหลังของภาพเบลอมันก็เลยทำให้ต้นทานตะวันชัดเจนขึ้น เห็นกลีบดอกทานตะวัน30กลีบที่นับได้ ใบไม้10ใบที่นับได้ เห็นความโค้งงอของใบ ลำต้น กลีบ หันไปในทิศทางไหนไม่รู้

ควรบันทึกว่า เห็นดอกทานตะวัน1ดอก มีกลีบดอกสีเหลือง 30ใบ มีใบสีเขียว10ใบ ตรงกลางของดอกทานตะวันยังโตไม่เต็มที่ เปรียบเสมือนการบันทึกพฤติกรรมเด็กที่เห็นอะไรก็ต้องบันทึกอย่างนั้น ไม่ควรเอาความรู้สึกส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
สิ่งที่ครูไม่ควรทำ!
-ครูห้ามวินิจฉัยเด็ก ห้ามฟันธงว่าเด็กคนนี้ คนนั้นเป็นโรคต่างๆ เราแค่สันนิษฐานในใจได้เท่านั้น
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือตั้งฉายาให้เด็ก เพราะมันจะเป็นเหมือนตราบาปของเด็กตลอดไป อย่าปักเชื่อเด็ดขาดต้องพิสูจน์ก่อน
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ ห้ามบอกจุดด้อยของเด็กให้พ่อแม่ฟัง ให้บอกด้านที่ดีของเด็กว่าดีแค่ไหน ทำได้ขนาดไหน

ครูควรทำอะไรบ้าง!
-ครูควรสังเกตเด็กอย่างมีระบบ และบันทึกพฤติกรรมของเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ คือครูมองเห็นเด็กเป็นภาพรวม เห็นทั้งดานดี ไม่ดี เห็นพฤติกรรมที่ทำอะไรได้ ไม่ได้
ต้องมีการตรวจสอบ ลำดับความสำคัญแก้ให้ตรงจุดมองปัญหาหนักๆหนักก่อน อันไหนรีบทำ รอได้ ปล่อยได้ มองข้ามได้ ควรสังเกตเป็นสัปดาห์แล้วมาเช็คอีกที

การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่าย 
-นับว่าเด็กแสดงพฤติกรรมนั้นกี่ครั้ง
-นับช่วงเวลา กี่นาที ระยะเวลา (เทียบกับเด็กปกติหรือกับตัวเอง)
การบันทึกต่อเนื่อง
-จะทำให้ครูได้ข้อมูลมาที่สุด ถูกต้องที่สุด ส่วนมากจะเป็นบรรยาย บันทึกในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-จะเตือนให้ครูไม่บันทึกเยิ้นเย้อ บันทึกช่วงเวลาสั้นๆ


ตัวอย่างการบันทึก


บันทึกอย่างต่อเนื่อง

บันทึกไม่ต่อเนื่อง


พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบเห็นได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ การกระทำของเด็กถ้าไม่ได้ไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กก็ควรปล่อยไป


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เรารู้ว่าควรบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างไร
-ทำให้เราเข้าใจเด็กมากขึ้น ไม่ควรตั้งฉายาให้เด็ก เราเองก็ไม่อยากฉายา
-ทำให้เราสามารถรับมือ กล้าพูดคุยกับผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กได้มากขึ้น
-สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเรียนในครั้งต่อๆไป

การประเมิน
ตนเอง – ตั้งใจวาดรูปทำผลงานตามคำสั่งอย่างเต็มที่ ทำงานเสร็จเร็ว ตั้งใจเรียนจดบันทึกเพิ่มเติม พยายามไม่พูดคุยมาก ในคาบนี้ถือว่าทำได้

เพื่อน –ตั้งใจทำผลงานกันออกมาอย่างสวยงามการบรรยายดอกทานตะวันนั้นถือว่ายังยึดติดกับความรู้สึกส่วนตัวมากเกินไป ทั้งๆที่อาจารย์ก็บอกแล้วว่า เห็นอะไรก็เขียนอย่างนั้นแต่ก็สมกับเป็นครูปฐมวัยล่ะนะ

อาจารย์ อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี ก่อนเข้าการเรียนการสอนมีกิจกรรมให้ทำ รู้สึกมีความกระตือรือร้นมากขึ้น ลุ้นว่าถ้าเราทำเสร็จแล้วจะเป็นยังไง มีการสอดส่องพฤติกรรมของเด็กอยู่ตลอดเวลา หาภาพได้เหมาะสมกับการบันทึกพฤติกรรมมาก ตั้งใจสอน อธิบายเพิ่มเติม เพิ่มใจความเข้าใจมากขึ้น






วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  2
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  20  เดือนมกราคม  2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.

สรุปเนื้อหา
รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) เป็นการศึกษาที่เด็กทั่วไปศึกษา
-การศึกษาพิเศษ (Special Education) เป็นการศึกษาที่อยู่ในสถานที่เฉพาะทาง เด็กแบบเดียวกันอยู่ด้วยกัน
-การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ถ้าได้รับการให้โอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
เป็นการนำเด็กพิเศษไปอยู่ในระบบการศึกษาทั่วไปหลักสูตรจะไม่เปลี่ยน ครูเฉพาะทางจะคอยให้ความช่วยเหลือ มีกิจกรรมที่ให้เด็กปกติกับเด็กพิเศษได้ทำร่วมกัน
สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ
1.การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
คือ เด็กจะไม่มาเรียนเต็มวัน จะมาในบางวิชา ส่วนมากจะเป็นวิชา ศิลปะ เคลื่อนไหว ดนตรี หรือกลางแจ้ง
2.การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
คือ การที่ครูยอมรับและเปิดโอกาสให้เด็กทุกประเภทได้เข้ามาอยู่ในโรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษจะติดต่อโรงเรียนมาขอให้เด็กพิเศษเรียนด้วย แต่ละวิชา  ทั้งวัน หรือมาบางวัน ครูจะต้องบอกเด็กติว่ามีเด็กพิเศษเรียนอยู่ด้วยเพื่อให้เพื่อนๆช่วยกันและยอมรับในตัวเด็กพิเศษ

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
เป็นการศึกษาที่เด็กพิเศษได้เรียนในโรงเรียนปกติ เหมือนกับเด็กปกติ ไม่ได้มาจากหน่วยงานไหน มีปิดเทอม เปิดเทอมทั่วไป จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

Wilson , 2007
     เป็นการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญามาจากการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก ทุกคนต้องเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน เริ่มต้นจากห้องเรียน เด็กทั่วไปรู้จักการยอมรับเด็กพิเศษ เด็กพิเศษเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เป็นการสอนที่ดี กิจกรรมต้องไม่ยากเกินไป

"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"

การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาของทุกคน ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาในวัยเด็ก 
แต่ละคนก็ย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกัน

สรุปการศึกษาแบบเรียนรวม

- เป็นการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ รับตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
- เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
 - การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
- เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
- ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เรารู้ว่าไม่ควรตังฉายาให้กับเด็ก
-ทำให้เราเข้าใจเด็กมากขึ้น พร้อมที่จะดูแลเขา
-ทำให้เราสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามความต้องการของเด็ก
-สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเรียนในครั้งต่อๆไป

การประเมิน
ตนเอง – มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย คุยตั้งแต่เริ่มเรียนยันเวลาเลิกเรียน แต่ถึงจะคุย ก็จดเพิ่มเติมตามที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม ตอบคำถามได้ ทำPost testเสร็จเร็วกว่าคนอื่นๆอีกแล้วด้วยความมั่นใจ

เพื่อน – ตั้งใจเรียน ไม่ค่อยคุย มาเรียนตรงเวลากันทุกคน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ทำPost testกันอย่างดี

อาจารย์ สัปดาห์นี้อาจารย์ทำให้หนูอยากกับมาเป็นครูอีกครั้งหลังจากความรู้สึกนั้นหายไปตั้งแต่ม.ต้น อาจารย์เป็นครูในอุดมคติที่หนูยึดเป็นแบบอย่างตั้งแต่เมื่อ10ปีที่แล้ว อาจารย์ทำให้หนูกลับมารู้สึกแบบนั้นอีกครั้งนึง  ขอบคุณนะคะที่ทำให้หนูเห็นว่ายังมีครูที่ไม่ยอมให้เด็กของตัวเองเสียเปรียบนอกจากในซีรีส์อีก....