วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  27  เดือนมกราคม  2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.



สรุปเนื้อหา
เข้ามาในห้องเรียนอาจารย์ก็ให้ดูรูปดอกทานตะวัน แล้วบอกว่า วาดให้เหมือนที่สุด  พอวาดเสร็จก็ให้บรรยาย เห็นอะไรเขียนอย่างนั้น


ภาพตัวอย่าง






เห็นต้นทานตะวันที่ชัดเจน1ต้น เพราะว่าพื้นหลังของภาพเบลอมันก็เลยทำให้ต้นทานตะวันชัดเจนขึ้น เห็นกลีบดอกทานตะวัน30กลีบที่นับได้ ใบไม้10ใบที่นับได้ เห็นความโค้งงอของใบ ลำต้น กลีบ หันไปในทิศทางไหนไม่รู้

ควรบันทึกว่า เห็นดอกทานตะวัน1ดอก มีกลีบดอกสีเหลือง 30ใบ มีใบสีเขียว10ใบ ตรงกลางของดอกทานตะวันยังโตไม่เต็มที่ เปรียบเสมือนการบันทึกพฤติกรรมเด็กที่เห็นอะไรก็ต้องบันทึกอย่างนั้น ไม่ควรเอาความรู้สึกส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
สิ่งที่ครูไม่ควรทำ!
-ครูห้ามวินิจฉัยเด็ก ห้ามฟันธงว่าเด็กคนนี้ คนนั้นเป็นโรคต่างๆ เราแค่สันนิษฐานในใจได้เท่านั้น
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือตั้งฉายาให้เด็ก เพราะมันจะเป็นเหมือนตราบาปของเด็กตลอดไป อย่าปักเชื่อเด็ดขาดต้องพิสูจน์ก่อน
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่เด็กว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ ห้ามบอกจุดด้อยของเด็กให้พ่อแม่ฟัง ให้บอกด้านที่ดีของเด็กว่าดีแค่ไหน ทำได้ขนาดไหน

ครูควรทำอะไรบ้าง!
-ครูควรสังเกตเด็กอย่างมีระบบ และบันทึกพฤติกรรมของเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ คือครูมองเห็นเด็กเป็นภาพรวม เห็นทั้งดานดี ไม่ดี เห็นพฤติกรรมที่ทำอะไรได้ ไม่ได้
ต้องมีการตรวจสอบ ลำดับความสำคัญแก้ให้ตรงจุดมองปัญหาหนักๆหนักก่อน อันไหนรีบทำ รอได้ ปล่อยได้ มองข้ามได้ ควรสังเกตเป็นสัปดาห์แล้วมาเช็คอีกที

การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่าย 
-นับว่าเด็กแสดงพฤติกรรมนั้นกี่ครั้ง
-นับช่วงเวลา กี่นาที ระยะเวลา (เทียบกับเด็กปกติหรือกับตัวเอง)
การบันทึกต่อเนื่อง
-จะทำให้ครูได้ข้อมูลมาที่สุด ถูกต้องที่สุด ส่วนมากจะเป็นบรรยาย บันทึกในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-จะเตือนให้ครูไม่บันทึกเยิ้นเย้อ บันทึกช่วงเวลาสั้นๆ


ตัวอย่างการบันทึก


บันทึกอย่างต่อเนื่อง

บันทึกไม่ต่อเนื่อง


พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่พบเห็นได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ การกระทำของเด็กถ้าไม่ได้ไปขัดขวางการเรียนรู้ของเด็กก็ควรปล่อยไป


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เรารู้ว่าควรบันทึกพฤติกรรมของเด็กอย่างไร
-ทำให้เราเข้าใจเด็กมากขึ้น ไม่ควรตั้งฉายาให้เด็ก เราเองก็ไม่อยากฉายา
-ทำให้เราสามารถรับมือ กล้าพูดคุยกับผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กได้มากขึ้น
-สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเรียนในครั้งต่อๆไป

การประเมิน
ตนเอง – ตั้งใจวาดรูปทำผลงานตามคำสั่งอย่างเต็มที่ ทำงานเสร็จเร็ว ตั้งใจเรียนจดบันทึกเพิ่มเติม พยายามไม่พูดคุยมาก ในคาบนี้ถือว่าทำได้

เพื่อน –ตั้งใจทำผลงานกันออกมาอย่างสวยงามการบรรยายดอกทานตะวันนั้นถือว่ายังยึดติดกับความรู้สึกส่วนตัวมากเกินไป ทั้งๆที่อาจารย์ก็บอกแล้วว่า เห็นอะไรก็เขียนอย่างนั้นแต่ก็สมกับเป็นครูปฐมวัยล่ะนะ

อาจารย์ อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี ก่อนเข้าการเรียนการสอนมีกิจกรรมให้ทำ รู้สึกมีความกระตือรือร้นมากขึ้น ลุ้นว่าถ้าเราทำเสร็จแล้วจะเป็นยังไง มีการสอดส่องพฤติกรรมของเด็กอยู่ตลอดเวลา หาภาพได้เหมาะสมกับการบันทึกพฤติกรรมมาก ตั้งใจสอน อธิบายเพิ่มเติม เพิ่มใจความเข้าใจมากขึ้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น