วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  21  เดือนเมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(
Individualized Education Program)

แผนIEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น /ช่วยกันร่างหลายคน มีการตั้งชมรมขึ้นมา
                               -ครู
                             -การศึกษาพิเศษ
                              -ผู้อำนวยการ
                              -ประชุมผู้ปกครอง
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและ-ความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
                                -ต้องเห็นพฤติกรรมเด็กก่อน
                                -เห็นบริบทก่อน ใกล้ชิดเด็ก
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน                                                       
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1.การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
 2.การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
                                -พ่อแม่
                                -ครู
                                -ครูการศึกษาพิเศษ
                                -ผู้บริหาร
                                -ครูที่สอนเสริม
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง /ครอบคลุมทุกสิ่งแต่ต้องกำหนดเป้าหมายชัดเจน
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก เช่น ด้านใดด้านหนึ่ง
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
ใคร                                                         อรุณ
อะไร                                      กระโดดขาเดียวได้                             
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                 กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน                          กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
                                                                                 
ใคร                                                         ธนภรณ์
อะไร                                      นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย                      
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                 ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน                          ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
                                                                                 
3.การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4.การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
                                                 
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized  Education  Program : IEP)


ตัวอย่าง
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized  Education  Program : IEP)





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เราเข้าใจการเขียนแผน IEP มาขึ้น
-ทำให้เรารู้กระบวนการเขียน IEP
-การเขียนแผน IEP ไม่ได้เขียนแค่คนเดียว
-มีทั้งแผนระยะสั้น ระยะยาว
-ได้ฝึกการเขียนแผน IEP

การประเมิน
ตนเอง – วันนี้ตั้งใจเรียนมาก ไม่ค่อยคุย สักถามอาจารย์ในส่วนที่ไม่เข้าใจ ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มอย่างเต็มที่ มาเรียนตรงเวลา แต่กายเรียบร้อย
เพื่อน –เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน ไม่ค่อยคุย ตั้งใจฟังและจดตามอาจารย์อธิบาย ถามเพิ่มเติมในส่วนอยากรู้ มาเรียนกันตรงเวลา แต่กายเรียบร้อย ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม
อาจารย์ มาสอนตรงเวลา แต่กายสุภาพ สอนเรื่องการเขียนแผน IEP ได้อย่างชัดเจน ตอนที่นศษ.ทำงานกลุ่มก็เดินดู ให้คำปรึกษา






วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน  ครั้งที่  8
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  07  เดือนเมษายน 2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร)  เวลา  08:30-12:20 น.


สรุปเนื้อหา

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
-การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
-ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
-ต้องฝึกสมาธิ ขอแค่เล่านิทานได้จบ 1 เรื่องก็พอ
-เคลื่อนไหวได้ 1 เรื่อง ศิลปะได้ 1 เรื่อง
-ประมาณ 10-15นาที
การเลียนแบบ
-ถ้าครูอยากให้เด็กพิเศษไปหยิบของครูต้องเรียกบัดดี้ไปด้วย เรียกทั้งสองคนเลย
-เรียกชื่อใครก่อนก็ได้ แต่ควรเรียกชื่อน้องเด็กพิเศษก่อน
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
-เรียกชื่อก่อนเสมอ
การรับรู้ การเคลื่อนไหว



การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก


-การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
-มุมบ้าน
-ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ





-ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

มิติสัมพันธ์


ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป



ตัวอย่าง  ถ้าอยากให้เด็กรู้ความหมายของบนล่าง
-ควรใช้คำถามที่ชี้นำ 
-ให้เด็กพูดตาม ทำซ้ำเรื่อยๆ
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก

ผู้แต่งอ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน

 เพลงนกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10ตัว

 เพลงเที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
 ผ่านตามท้องไร้ท้องนา
 เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5ตัว
 หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ออกไข่ทุกวัน 1วันได้ไข่ 1ฟอง

 เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10ตัว ที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป1ตัว
ลูกแมว10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลงลุงมาชาวนา
 ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ *)

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-ทำให้เรารู้ช่วงความสนใจของเด็กพิเศษ
-ทำให้เรารู้การเลียนแบบของเด็ก
-ทำให้เรารู้ว่าเด็กพิเศษนั้นต้องสอนซ้ำๆ ทบทวยเรื่อยๆ
-ต้องเรียกชื่อน้องบ่อยๆ
-ทำให้เราได้รู้เพลงเด็กใหม่ๆ

การประเมิน
ตนเอง – วันนี้ไม่ค่อยตั้งใจเรียน คุยมากซะส่วนใหญ่ แต่ก็จดตามที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามคำถาม ค่อนข้างเสียงดัง สนใจอย่างอื่นมากกว่าอาจารย์ มากกว่าเนื้อหาที่เรียน มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน –เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน ไม่ค่อยคุย ตั้งใจฟังและจดตามอาจารย์อธิบาย ถามเพิ่มเติมในส่วนอยากรู้ มาเรียนกันตรงเวลา แต่กายเรียบร้อย
อาจารย์ มาสอนตรงเวลา มีสีมาแจกด้วย อธิบายเพิ่มเติมจากสไลด์ให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจน แต่งกายสุภาพ พูดคุยกับนศษ.สนุกสนาน สามารถตอบคำถามที่เราอยากรู้ได้ พูดคุยได้เสมอ






วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

งานกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์



สแตนด์เชียร์




เพื่อนๆชั้นปีที่ 3 ได้แบ่งหน้าที่กันในการทำอุปกรณ์เชียร์สแตนด์เชียร์ ^^)v